เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสสัมผัสบรรยากาศ การเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเที่ยวบินแรกของเครื่องบิน ชนิดสองทางเดิน เป็นอื่นไปไม่ได้ นั่นก็คือ Airbus A350XWB ลำล่าสุดของการบินไทย ที่จะเข้ามาประจำการในฝูงบิน เพื่อทดแทนลำเก่าที่กำลังจะทยอยปลดประจำการในอนาคตอันใกล้นี้
A350XWB Schematic
ทำไมต้องเที่ยวบินแรก ?
เป็นคำถามที่โดนถามบ่อยมาก ถึงมากที่สุดดดดดดครับ เหตุผล(แบบเข้าข้างตัวเอง 555+ )คือ….เป็นช่วงเดียวที่สามารถใช้เงินพันกว่าบาท เพื่อจะได้นั่งเครื่องบินรุ่นนี้ ในช่วงทดลองการบินภายในประเทศ แต่….ถ้าพ้นช่วงทดลองบินในประเทศไปแล้ว อาจจะต้องใช้เงินเกิน สองหมื่นบาท เพื่อใช้บริการเครื่องรุ่นนี้ของการบินไทย สำหรับการบินไปยังเมลเบิร์น(รูทที่การบินไทยประกาศรูทแรก) …หรือถ้าเราจะนั่ง A350 ของ Cathay Pacific ก็ได้ แต่อารมณ์คงจะคนละฟิลด์กัน แถมราคาก็ยังสูงพอสมควรเช่นกัน
เริ่มต้นการเดินทาง
วันที่ 4 กันยายน 2259 เป็นวันที่ การบินไทยได้นำ Airbus A350-XWB ทะเบียน HS-THB มีนามพระราชทาน “วิเชียรบุรี Wichian Buri“ทำการบินเที่ยวบินแรกอย่างเป็นทางการ จากในรูปนี้นอกจากผู้โดยสารแล้วยังมีเหล่า Spotter และผู้ที่ชอบการบินมารวมตัวกันในวันนี้อย่างหนาตา ถ้าพูดเอาฮาก็คือ หลายคนไม่มีมีธุระกงการอะไรที่เชียงใหม่ แต่อยากไปลองเครื่องใหม่ ซึ่งผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น 😀
” Airbus A350XWB HS-THB Wichian Buri “
Check In
ได้เวลา Check In ตรงนี้มีทริคเล็ก ๆ น้อยๆ มากฝากถ้าใครไม่อยากโดนฉีก Boarding Pass ก็สามารถยื่น QR Code พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางได้เช่นกันครับ สรุปคือผู้โดยสารสามารถ แสดงตั๋วได้ 3 วิธีคือ
- ขอรับ Boarding Pass ที่เป็นตั๋วกระดาศยาว ๆ ได้ที่เคาน์เตอร์เช็คอิน
- ปริ้นตั๋วจากเว็บ ลงกระดาษ A4
- QR Code จากโทรศัพท์มือถือ
เมื่อผ่านการตรวจตั๋วจากเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ได้เวลาเดินเข้าสู่งวงช้างที่เชื่อมระหว่างอาคารผู้โดยสารและเครื่องบินไว้
รูปแรกจากกล้อง หลังจากที่นั่งประจำที่ ปลายปีกสวยมาก จะว่าไปก็เข้ากับการบินไทย ลักษณะคล้ายกับการดัดมือของนางลำ 😀 ยิ่งเวลาอยู่บนฟ้า สีม่วง ทองโดนแดด จะเด่นขึ้นมาก
ทำมั๊ยยังไม่บินเลย
รูปนี้แคปมาจากเฟส แสดงว่าไม่ใช่แค่พวกผมที่ตั้งตารอของความพิเศษในไฟล์ทนี้ เช่นเดียวกัน มีอีกหลายคนที่เชียงใหม่ และที่ต่าง ๆ เฝ้าคอยผ่านเช็คผ่านโปรแกรม ว่าเครื่องทะยานขึ้นฟ้าแล้วหรือยัง และผู้โดยสารทุกท่านในวันนี้ คุณคือคนแรกที่ได้นั่ง Seat No. นั้นๆอย่างเป็นทางการ ต่อจากนี้อีกสิบ หรือยี่สิบปี ที่เครื่องลำนี้จะอยู่กับการบินไทย และให้บริการผู้โดยสารไปอีกหลายหมื่น หลายแสนคน ตลอดอายุของเครื่องลำนี้
เพื่อนร่วมทางที่ต่างมาเจอ และทำความรู้จักกันในเที่ยวบินนี้
สิ่งที่หายไปก็คือไม่มีช่องแอร์ส่วนตัวอีกต่อไป จะใช้เป็นช่องแอร์ยาวขนานไปกับช่องเก็บสัมภาระเลย ส่วนหน้าจอแสดงสถานะก็เปลี่ยนเป็นจอ OLED ทั้งหมด ส่วนตัวผมว่ามันเล็กไปนิดนึง
คู่มือความปลอดภัย
รีโมทสำหรับจอ IFE มีช่องให้รูทการ์ดแถบแม่เหล็กด้วย
มี Wi-Fi ให้บริการด้วย เรียกว่าบิ้วอินมากับเครื่องแล้ว ส่วนรูปทางขวามีฮุก กับสำหรับแขวนของด้วย
ที่พักเท้าสามารถพับเก็บได้ และส่วนที่วางเท้า(สีดำ) เป็นอิสระจากกัน
Push Back-> Take Off ได้เวลาออกเดินทาง
ม่วงทอง สะท้อนแสงแดดจะสวยมาก
หลังจากที่สัญญาณรัดเข็มขัดดับลง ลูกเรือก็รีบให้บริการอาหาร เนื่องจากเที่ยวบินในประเทศใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง ทุกอย่างจึงอาจจะดูเร่งรีบไปบ้าง แต่ก็ไม่ขาดตกบกพร่องอะไรครับ บริการดีใช้ได้เลย
อาหารร้อนที่ให้บริการ สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ
ขอกาแฟเพิ่ม รสชาติใช้ได้(หรืออาจจะหิว มากกว่า) ฮ่าๆๆ
ใกล้ถึงเชียงใหม่แล้ว ได้เวลาลดระดับเพดานบิน และเตรียม Landing
Touchdown
หลังจากที่ล้อแตะพื้น เครื่องก็ค่อย ๆ Taxi ไปยังเกท
เครื่องรุ่นนี้ได้ติดตั้งกล้องด้านหลังมาด้วย ผู้โดยสารสามารถดูมุมมองนี้ผ่านจอ IFE ได้เลย
ก่อนลงก็ขอถ่ายรูปร่วมกับลูกเรือเป็นที่ระลึก 1 รูป 😀
ได้ Log Book คืนมาพร้อมลายเซ็นต์กัปตัน อิษฎ์ ศิรสวัสดิ์
สุดท้ายนี้เป็นวิดีโอที่บันทึกไว้ตั้งแต่เช็คอิน จนถึงเชียงใหม่ครับ
Flight No. 45/1000
Date : 4 September 2016
Phichya Laemluang